วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2562

ปัญหาและแนวทางการป้องกันความรุนแรงในสังคม


ปัญหาและแนวทางการป้องกันความรุนแรงในสังคม

                          ปัญหาความรุนแรงมีจุดเริ่มต้นมาจากความขัดแย้ง  ความรุนแรงในสังคมเกิดจากการมีผู้ก่อความรุนแรง  ซึ่งมีจำนวนไม่มากนัก   แต่ผู้ได้รับผลกระทบหรือเหยื่อของความรุนแรงเป็นผู้บริสุทธิ์  แต่ต้องถูกทำร้ายมีเป็นจำนวนมาก
                ความขัดแย้งในระดับพื้นฐานเกิดขึ้นภายในครอบครัว  เมื่อพ่อแม่มีความขัดแย้งกัน  ผลกระทบอาจตกอยู่ที่ลูก  หากเป็นวัยรุ่นจะทำให้เกิดความไม่มั่นคงในอารมณ์  ขาดการยอมรับตนเอง  ถ้าสามารถปรับตัวได้ก็จะผ่านพ้นความขัดแย้งไปได้โดยวิธีการประนีประนอม  แต่ถ้าวัยรุ่นมีความขัดแย้งที่รุนแรงและยาวนาน  จะพัฒนาเป็นความรุนแรงในสังคมต่อไป
1.สาเหตุของการเกิดความรุนแรงในสังคมและผลกระทบต่อบุคคล  ครอบครัวและสังคม
                1.1สาเหตุของการเกิดความรุนแรงในสังคม
                     ความรุนแรงในสังคม  เช่น  การลักทรัพย์  การระบาดของสิ่งเสพย์ติด  ซึ่งได้แพร่เข้าไปตามโรงเรียน  หรือการมีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง  เป็นต้น
     การเกิดความรุนแรงในสังคม  มีสาเหตุดังนี้
     1.ความขัดแย้งของประชาชนในเรื่องสิทธิมนุษย์ชน  ด้านมนุษยธรรมและความเป็นพลเมือง
     2.การนำเสนอเรื่องที่ใช้ความรุนแรงจากสื่อมวลชน  เช่น  โทรทัศน์  ภาพยนตร์  อินเทอร์เน็ต  ซึ่งสื่อที่กล่าวมาล้วนมีส่วนกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงในสังคมได้
     3.รูปแบบของการพนัน  เช่น  สลากกินแบ่ง(หวยบนดิน)  บ่อน  การพนัน  ฟุตบอลและมวย  เป็นต้น  ซึ่งก่อให้เกิดความรุนแรง  ได้แก่  การอยากรวยโดยไม่ต้องประกอบอาชีพ   และการแสวงหาความสนุก  เพลิดเพลินโดยปราศจากความสำนึกผิดชอบ
     4.มีพฤติกรรมก้าวร้าว  พฤติกรรมความรุนแรง
     5.มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม  การทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกาย  โดยมีการกระทำผิดต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น
     6.พฤติกรรมการเล่นพนันฟุตบอลของเด็กและเยาวชน
     7.พฤติกรรมการใช้สารเสพติด  และการหนีโรงเรียน
     8.พฤติกรรมการยกพวกตีกันของนักศึกษาระหว่างสถาบัน
     9.อาชญากรรม  สงครามและการก่อการร้าย
     10.ธุรกิจการค้าบริการทางเพศ  ปัญหาโสเภณีเด็ก
     11.การค้าสารเสพติด
     12.การก่ออาชญากรรมทางเพศ  ข่มขืนแล้วทำร้ายจนเสียชีวิต
                          สาเหตุของการเกิดความรุนแรงในสังคมมีมากมายหลายรูปแบบ  แต่ในที่นี้ขออธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการก่อการร้าย  เพราะเป็นสาเหตุของการเกิดความรุนแรงในสังคมที่มีผลกระทบต่อคนในหลายประเทศ  โดยมีผู้ถูกกระทำหรือเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายต้องบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
                     การก่อการร้าย
                           การก่อการร้ายเป็นการใช้กำลัง  การใช้ความรุนแรงในรูปแบบต่างๆเพื่อกดดันทั้งทางตรงและทางอ้อม  โดยกลุ่มบุคคลหรือองค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นมา  เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักทางการเมืองในลักษณะของการต่อต้าน  โค่นล้ม  กุมอำนาจ  หรือต่อรองอำนาจของรัฐกับรัฐบาลเพื่อปลดปล่อยกลุ่มของตนหรืออื่นๆให้เป็นอิสระจากอำนาจ อิทธิพล  การปกครองของรัฐอื่น
                           การก่อการร้ายเป็นสถานการณ์ที่ซับซ้อน  มีพัฒนาการที่เพิ่มความรุนแรงมากขึ้น  โดยขยายตัวเป็นการก่อการร้ายสากล  ทำให้ทุกประเทศมีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามที่มาจากการก่อการร้าย  นับเป็นความรุนแรงในสังคมที่น่ากลัวและอันตรายเป็นอันดับหนึ่ง
                           ตัวอย่างการก่อการร้ายทั้งในระดับโลก  ระดับภูมิภาคและในระดับประเทศ
                           -การก่อการร้ายในประเทศสหรัฐอเมริกา  เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2544
                           -การวางระเบิดที่บาหลี  ประเทศอินโดนีเซีย  เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2545
                           -การวางระเบิดที่กรุงอิสตันบูล  ประเทศตุรกี  เมื่อวันที่ 15 และ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2546
                           การก่อการร้ายเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการขยายขอบเขตที่กว้างขวางและอัตราความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นของการก่อการร้ายทั่วโลก
                 1.2ผลกระทบของความรุนแรงในสังคม
                     ผลกระทบของความรุนแรงในสังคมที่เกิดต่อบุคคล  ครอบครัว  และสังคม  มีดังนี้
  1.ผลกระทบต่อบุคคล
                              1.)ถูกทำร้ายร่างกายทำให้เกิดการบาดเจ็บ  พิการ  หรือเสียชีวิต
                    2.)สภาพของจิตใจถูกกระทบกระเทือน  มีความวิตกกังวล  ซึมเศร้า  เหม่อลอย  ขาดสมาธิ
                    3.)เกิดความสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
                    4.)เกิดการเลียนแบบผู้กระทำความรุนแรง
                    5.)มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม
                2.ผลกระทบต่อครอบครัว
                    1.)ครอบครัวแตกแยก  มีปัญหาความสัมพันธ์ภายในครอบครัว  เกิดการเป็นหม้าย  หรือกำพร้าขาดบิดามารดา
                    2.)เกิดความยากจนและว่างงาน  เพราะบิดามารดาต้องหยุดงานหือไม่มีงานทำ  ทำให้ครอบครัวขาดรายได้
                3.ผลกระทบต่อสังคม
                    1.)สังคมเดือดร้อน  เกิดความหวาดระแวง  ขาดความสงบสุข  ประเทศขาดความมั่นคงและความปลอดภัย
                    2.)สิ่งแวดล้อมในสังคมไม่ปลอดภัย  มีปัญหาอาชญากรรม  การจลาจล  การลอบทำร้าย  การก่อการร้าย  โดนลูกหลง  เป็นต้น
                    3.)เกิดความรุนแรงในโรงเรียน  เพราะอิทธิพลจากสื่อมวลชน  อินเทอร์เน็ตและเกมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ความรุนแรง
                    4.)มีปัญหาเศรษฐกิจ  รวมทั้งมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศ
2.แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันปัญหาความรุนแรงในสังคม
                การป้องกันปัญหาความรุนแรงในสังคมเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของประชาชนทุกคนในสังคม  ทั้งหน่วยงานต่างๆ  ทั้งภาครัฐและเอกชนชุมชนด้วย  โดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้
                1.ระดับบุคคล
                   1.)รู้จักใช้เวลาว่างในทางสร้างสรรค์  เป็นสิ่งที่สำคัญมาก  จะช่วยให้ไม่ไปรวมกลุ่มสร้างปัญหาพฤติกรรมความรุนแรงต่างๆในสังคม
                    2.)รู้จักยั้งคิด  มีการยับยั้งตนเองไม่เป็นผู้ก่อการความรุนแรงให้แก่สังคม
                    3.)การฝึกเพื่อเสริมสร้างจิตลักษณะในการป้องกันพฤติกรรมทะเลาะวิวาท
                    4.)การส่งเสริมการอยู่ร่วมกันโดยสงบสุข  ถ้อยทีถ้อยอาศัย  มีความเอื้ออาทร  ไว้วางใจซึ่งกันและกัน
                2.ระดับชุมชน
                    1.)จัดการคุ้มครองความปลอดภัยแก่สตรี  เด็ก  ผู้สูงอายุ  และผู้ด้อยโอกาส
                    2.)ออกกฎหมายควบคุมการพกพาและมีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง
                    3.)จัดกำลังเพื่อต่อสู้กับอาชญากรรม
                    4.)ป้องกันการค้าอาวุธ  การทุจริตคอรัปชั่น  และการค้าที่ผิดกฎหมาย
                    5.)มีระบบปรึกษาความปลอดภัยให้แก่ประชาชนอย่างเข้มแข็ง
Previous Post
Next Post
Related Posts

0 ความคิดเห็น: